แมลงวันพริก


แมลงวันพริก Bactrocera latifrons (Hendel)

      สวัสดีครับเพื่อนๆที่สนใจหรือปลูกพริกทุกท่านนะครับ แมลงวันพริกเป็นศัตรูพืชที่สำคัญมากในวงการปลูกพริกและมีเกษตรกรจำนวนน้อยมากที่เข้าใจว่าแมลงวันพริกที่แท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ นี่คือรูปร่างหน้าตาที่ถูกต้องของแมลงวันพริก ( Bactrocera latifrons ) ลักษณะที่สำคัญในการจำแนกชนิดคือที่ก้นจะไม่มีขีดสีดำรูปตัวที ( T )













 ส่วนใหญ่เมื่อเกษตรกรเจอปัญหาพริกเน่ามีหนอนในเม็ดพริกก็จะเข้าใจว่าเกิดจากแมลงวันทองมาเจาะพริก จบท้ายด้วยการนำเอาเมทิลยูจีนอลมาทำกับดักแบบขวดหรือไม่ก็เอาสารล่อแบบกาวเหนียวมาฉีดดักแมลงวันทอง แต่มันไม่สามารถล่อแมลงวันพริกได้หรอกนะครับ แต่จะได้ Bactrocera dorsalis หรือแมลงวันทองมาเป็นจำนวนมาก หน้าตาแบบนี้ครับ





     




   กรุณาสังเกตุที่ก้นของแมลงวันทองตัวนี้ครับคุณจะเห็นขีดตัวที่ชัดเจนมากเลยนะครับ เจ้าตัวนี้ไม่ได้เจาะทำลายพริกเลย ลองดูจากคลิปนี้คืองานวิจัยที่บอกว่าแมลงวันพริกมันไม่สามารถล่อด้วยเมทิลยูจีนอลได้






     แมลงวันพริกนั้นเราสามารถเจอหนอนในพริกได้แต่มันจะหาตัวยากหน่อย เพราะเค้าจะพยายามหนีเข้าไปด้านในสุด ดูได้จากคลิปนี้เลยครับผมเก็บพริกที่มีสีแปลกๆเหมือนมันจะเน่ามาลองผ่าดู ก็จะเห็นมีหนอนของแมลงวันผลไม้ระยะที่สาม ( กระโดดได้ )







       หลังจากนั้นผมก็เลยอยากรู้ว่าหนอนชนิดนี้เป็นหนอนของแมลงวันผลไม้ชนิดอะไรกันแน่ ผมก็ลองให้หนอนเข้าดักแด้ในดินดูว่าจะสามารถเป็นดักแด้ได้มั้ยดูตามคลิปเลยครับ






    แล้วทีนี้ผมใช้เวลาในการรอให้แมลงวันผลไม้ชนิดนี้ออกมาจากดักแด้ ใช้เวลาหลายวันเลยครับ แต่เราก็สามารถเก็บภาพการออกจากดักแด้ใหม่ๆได้เป็นครั้งแรก น่าสนใจมากๆครับที่ดักแด้มีขนาดเล็กมากเท่าเม็ดข้าวสารเองครับ แต่แมลงวันพริกที่ออกมานั้นใหญ่กว่าหลายเท่า โตเร็วมากๆเพียงไม่กี่ชั่วโมงมันมีขนาดเท่ากับตัวเต็มวัยที่เราเคยเห็นกัน มาดูคลิปกันเลยครับ







ลักษณะการทําลาย

      การเข้าทําลายของแมลงวันพริกเกิดจากตัวเต็มวัยเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่แทงลงไปในผลพริกเพื่อวางไข่ตัวหนอนจะชอนไชกินไส้ในผลพริกทําให้พริกเน่าและร่วง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ําบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทําให้ผลเน่าเละและมีน้ําไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทําลายตามทําให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ที่ไม่มีการป้องกันหรือควบคุมแมลงวันพริกความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเข้าทําลายอาจรุนแรงมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงจําเป็นที่ต้องป้องกันการเข้ามาทําลายผลผลิตพริกของแมลงวันพริก B. latifrons เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดจากการเข้าทําลายของแมลงชนิดนี้

การป้องกันและกําจัด


1. วิธีเขตกรรม เช่น ทําความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บผลพริกที่ร่วงหล่นทําลาย เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันพริก หรือทําลายพืชอาศัยที่อยู่รอบๆ แปลงปลูกพริก
2. การใช้น้ํามันปิโตรเลียม ได้แก่ ดีซี ตรอน พลัส 83.9% EC หรือ เอส เค 99 83.9% EC หรือซันสเปรย์
อัลตร้า ฟรายด์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ํา 20 ลิตร
3. การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกําจัด เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเซี่ยม
4. การใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีกําจัดหนอนแมลงวันพริกทําได้ค่อนข้างลําบาก เนื่องจากตัวหนอนอาศัยอยู่ในผลพริก
โอกาสที่สารเคมีจะสัมผัสตัวหนอนโดยตรงและทําให้หนอนตายจึงเป็นไปได้ยาก ทําให้การใช้สารเคมีฉีดพ่นไม่สามารถควบคุมหนอนแมลงวันพริกได้ และยังทําให้สารเคมีตกค้างในผลผลิตอีกด้วย หากจะใช้สารเคมีฉีดพ่นควรใช้ตั้งแต่พืชเริ่มออกดอกเพื่อไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่บนผลพริก สารเคมีที่แนะนํา ได้แก่ มาลาไธออน ไซเปอร์เมทริน ไดเมโทเอตและไดคลอวอส อัตราการใช้ตามคําแนะนําในฉลาก โดยฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 7 วัน และเว้นระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 7 วัน
5. การใช้สารล่อ
ก. การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารเคมีที่ใช้เป็นสารล่อนี้จะสามารถดึงดูดได้เฉพาะแมลงวันผลไม้
ตัวผู้เท่านั้น และการใช้สารล่อนั้นจะต้องคํานึงถึงแมลงที่ต้องการให้เข้ามาในกับดักด้วย เพราะแมลงวันผลไม้จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสารล่อแต่ละชนิด โดยสารล่อที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดแมลงวันพริก Bactrocera latifrons ได้ดีคือ สารลาติ-ลัวร์ (liti-lure) สารเคมีในกลุ่ม α-ionone และ α-ionol ทุกชนิด




ข. การใช้เหยื่อโปรตีน โดยการนําเอายีสต์โปรตีนออโตไลเสท (Protein autolysate) ผสมกับสารเคมีกําจัดแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันพริก โดยใช้ยีสต์โปรตีนออโตไลเสท 200 ซีซี ผสมสารอิมิดาโคลพลิด จํานวน 1 กรัม ผสมน้ํา 5 ลิตร พ่นเป็นจุดๆ เท่านั้น วิธีการนี้ให้ผลที่ดีมาก นอกจากจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงและแรงงานแล้ว ยังเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม แมลงผสมเกสร รวมทั้งตัวห้ํา-ตัวเบียนน้อยลง ที่สําคัญคือสารนี้สามารถดึงดูดได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเข้าทําลายของแมลงวันพริกได้เป็นอย่างดี ลองดูคลิปการใช้เหยื่อโปรตีนในการล่อแมลงวันพริกว่าสามารถทำได้จริงตามนี้ครับ





   สุดท้ายนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรท่านอื่น ช่วยกันแชร์บอกต่อคนอื่นๆให้เข้าใจเกี่ยวกับแมลงวันพริกที่ถูกต้องด้วยนะครับ เพราะถ้าเรารู้และกำจัดแมลงวันพริกได้จริงแต่เพื่อนๆที่ปลูกพริกอยู่รอบๆบ้านเรายังไม่เข้าใจและไม่สามารถกำจัดแมลงวันพริกได้ เราก็อยู่ในสถานะการณ์ที่มีแมลงวันพริกคอยรอโอกาศเข้ามาทำลายพริกตลอดเวลา ดังนั้นต้องช่วยเพื่อนๆของเราด้วยนะครับด้วยการให้ข้อมูลที่แท้จริง 


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม