วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

แมลงวันผลไม้ กำจัดได้ไม่ง่ายอย่างที่คิด

 



แมลงวันผลไม้ กำจัดได้ไม่ง่ายอย่างที่คิด







50 ปีที่ผ่านมา การระบาดของแมลงวันผลไม้ยังไม่รุนแรงเท่าปัจจุบัน ชมพู่ที่ปลูกไว้ข้างบ้านสามารถเก็บกินได้โดยไม่ต้องห่อ ปัจจุบันถ้าไม่ห่อจะไม่ได้กินแม้แต่ผลเดียว เพราะแมลงวันผลไม้จะเข้าทำลายตั้งแต่ผลยังเล็ก ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นจนหมด ปัจจัยที่ทำให้แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทองเป็นแมลงศัตรูสำคัญของผลไม้ในประเทศไทย



1.ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนตลอดปี พืชต่างๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะไม้ผลเกือบทุกชนิดเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ ซึ่งแมลงวันผลไม้ที่สำคัญในบ้านเราคือ Oriental fruit fly (Bactrocera dorsalis Hendel) มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิด และ guava fruit fly (Bactrocera correcta Bezzi) มีพืชอาศัยมากกว่า 36 ชนิด พืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ทั้งสองชนิดมีทั้งผลไม้ยอดนิยมที่ชาวบ้านชอบปลูกไว้ประจำบ้าน เช่น ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง และผลไม้ในป่าอีกหลายชนิด ผลไม้เหล่านี้จะทยอยออกดอกติดผลตลอดทั้งปี และกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้แมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้ตลอดเวลา โดยไม่จำกัด เพราะมีพืชอาหารต่อเนื่อง ในโครงการการจัดการแมลงวันผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยคิดว่าการลดปริมาณประชากรแมลงวันผลไม้ให้ได้ผลดี จะต้องมีการลดหรือกำจัดพืชอาศัย หรือพืชอาหารของแมลงวันผลไม้ให้ได้มากที่สุด ทั้งผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ไว้ตามบ้าน และผลไม้ในป่า ถ้าทำได้โอกาสที่จะลดปัญหาแมลงวันผลไม้ก็พอจะมองเห็นแสงสว่างได้บ้าง








2.เขตแพร่กระจายของแมลงวันผลไม้ทั้ง 2 ชนิด พบระบาดอย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทยไม่มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพของภูมิประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยมาจำกัดการแพร่กระจายระบาดของแมลงวันผลไม้ เมื่อมีการกำจัดในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจนดูคล้ายๆ ว่าปริมาณประชากรของแมลงวันผลไม้ทั้งสองชนิดจะลดลงบ้าง แต่ถ้าหยุดรณรงค์ในการป้องกันกำจัดเมื่อใด ประชากรของแมลงวันผลไม้ที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณโดยรอบก็จะเคลื่อนเข้ามา และระบาดรุนแรงได้เหมือนเดิม

3. แมลงวันผลไม้มีพฤติกรรมการหากินในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในเวลาเช้าไม่ชอบช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง และแสงแดดจัด แมลงวันผลไม้แต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของแมลงวันผลไม้คือ อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง อุณหภูมิมีผลต่ออายุและพัฒนาการของแมลง ขณะที่ความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ส่วนแสงสว่างมีผลต่อการผสมพันธุ์ และการขยายพันธุ์ แมลงวันผลไม้ส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์มากกว่า 1 ครั้ง แมลงวันผลไม้เพศเมียที่ผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้เพศผู้ที่เป็นหมันแล้ว หลังจากนั้นถ้าไปผสมพันธุ์กับเพศผู้ปกติ ก็มีโอกาสที่จะให้ลูกหลานปกติได้ ตัวเต็มวัยแมลงวันผลไม้มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 3 เดือน เริ่มผสมพันธุ์หลังฟักออกจากดักแด้ประมาณ 10 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้วสามารถวางไข่ได้ทันทีในวันถัดไป และสามารถวางไข่ได้ทุกวัน วันละประมาณ 1 – 50 ฟอง จนกระทั่งสิ้นอายุขัย








3. การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ทำได้หลายวิธี สามารถนำวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมแมลงวันผลไม้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ทุกวิธีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้จะมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันแมลงวันผลไม้ได้อย่างสมบูรณ์ วิธีการหลักๆ มีดังนี้

4.1การห่อผล เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมมากวิธีหนึ่ง การห่อผลนับว่าเป็นวิธีที่สามารถควบคุมการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ทั้งหมด ผลไม้ที่เกษตรกรต้องห่อผลเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของแมลงวันผลไม้ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง กระท้อน เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการห่อผล ได้แก่

-ชนิดของวัสดุห่อ อาจแตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ ชมพู่จะห่อด้วยถุงพลาสติกหูหิ้ว สีขาว เช่นเดียวกับฝรั่งแต่ในฝรั่งจะมีกระดาษพับเป็นหมวกเจ๊กคลุมป้องกันแสงแดดอีกที มะม่วงจะห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล ถ้าต้องการให้มีสีสวยจะใช้ถุงกระดาษสีน้ำตาลและภายในเป็นกระดาษคาร์บอนสีดำ ส่วนกระท้อนจะห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล วัสดุที่เลือกใช้ห่อจะต้องเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาในการห่อ ตั้งแต่เริ่มห่อจนเก็บเกี่ยว จะต้องเหนียวแน่นทนทาน ไม่ทะลุ หรือฉีกขาดก่อนการเก็บเกี่ยว

-อายุที่เหมาะสมของผลไม้แต่ละชนิดที่จะเริ่มห่อ ควรทราบว่าผลไม้แต่ละชนิดควรห่อเมื่อผลมีขนาดเท่าใด คือต้องรู้ว่าผลไม้แต่ละชนิดแมลงวันผลไม้เริ่มเข้าทำลายในระยะไหน การห่อผลขณะที่ผลยังเล็กเกินไปจะมีผลกระทบ ทำให้ผลแคระแกร็นหรือร่วงได้ แต่ถ้าห่อตอนผลโตเกินไป ก็จะไม่ทัน เพราะแมลงวันผลไม้ได้เข้าทำลายและวางไข่ไว้แล้ว เช่น ชมพู่ แมลงวันผลไม้จะเข้าทำลายเมื่ออายุประมาณ 14 วัน ดังนั้น การห่อผลชมพู่จึงควรห่อในระยะนี้ หรือก่อนหน้านี้เล็กน้อย ในฝรั่งควรห่อเมื่อผลอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ส่วนมะม่วงต้องห่อก่อนผลอายุ 2 เดือน

-จำนวนผลที่เหมาะสมในการห่อ ผลไม้ที่ติดผลเดี่ยวๆ จะไม่มีปัญหาเท่าใด แต่ก็ต้องพิจารณาขนาดของวัสดุห่อให้เหมาะสม สำหรับผลไม้ที่ติดผลเป็นช่อ เช่น ชมพู่ ถ้ามีจำนวนผลต่อช่อมากเกินไปจะต้องเด็ดออก ปกติการห่อชมพู่จะใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 8 x 16 นิ้ว ห่อเมื่อผลอายุ 2 สัปดาห์ จำนวนผล 3-4 ผล ต่อช่อ จึงจะให้ผลดี ผลมีขนาดโต สีสวยในระยะเก็บเกี่ยว แมลงวันผลไม้เข้าทำลายไมได้ เพราะถุงไม่ตึง และไม่ฉีกขาด

-ผลกระทบจากการห่อผลในผลไม้บางชนิดที่ใช้วัสดุทึบห่อ เช่น มะม่วง และกระท้อน จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้ามาหลบอาศัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลของแมลงศัตรูบางชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของผลผลิต จะเห็นได้ว่าการห่อผลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จริงๆ เพราะมีปัจจัยต่างๆ มาเกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะผลไม้ที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ติดผลดกเกษตรกรไม่สามารถห่อได้ทั่วถึงทั้งหมด







4.2 การพ่นสารฆ่าแมลง เป็นวิธีทางเลือกหนึ่งสำหรับลดประชากรแมลงวันผลไม้ที่ทางราชการแนะนำคือ สารโพรไท-โอฟอส 50% อีซี อัตรา 75 มิลลิลิตร หรือมาลาไธออน 57% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร หรือไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร หรือแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีแมลงวันผลไม้ระบาดมากในแปลงผลไม้ สำหรับวิธีนี้ถ้าเป็นแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ จะเห็นผลในการป้องกันกำจัดชัดเจน

แต่แมลงวันผลไม้วิธีการนี้จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะเป้าหมายในการพ่นสารไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าตัวแมลงวันผลไม้อยู่ที่ไหน ตามพฤติกรรมจะออกหากินในช่วงเวลาเช้าๆ ผลไม้ที่มีอายุและขนาดผลต่างๆ กัน จะมีการทำลายของแมลงวันผลไม้ในระยะต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยระยะไข่ หนอนวัยแรกจนถึงวัยสุดท้าย ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในผล และมีความทนทานต่อ สารฆ่าแมลงแตกต่างกัน เมื่อเป็นหนอนวัยสุดท้ายจะเจาะออก และดีดตัวลงไปเข้าดักแด้ในดิน จะเห็นได้ว่า การพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้จะไม่ค่อยตรงเป้าหมายที่ต้องการกำจัด ในทางตรงกันข้ามอาจไปทำลายศัตรูธรรมชาติพวกตัวห้ำ (แมงมุมชนิดต่างๆ) และตัวเบียน (แตนเบียนชนิดต่างๆ) มากกว่า

4.3 การพ่นด้วยเหยื่อพิษ เหยื่อที่นำมาใช้จะเป็นพวกยีสต์โปรตีน นักวิชาการได้อาศัยหลักพื้นฐานทางชีววิทยา ของแมลงวันผลไม้ที่พบว่า ตัวเต็มวัยของแมลงวันผลไม้หลังจากฟักออกมาจากดักแด้จะต้องการอาหารที่เป็นโปรตีนจำนวนมาก เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ และการวางไข่ และอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบจะเป็นตัวดึงดูดแมลงวันผลไม้ได้อย่างดี จึงนำยีสต์โปรตีน ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงานอุตสาหกรรมมาผสมกับสารฆ่าแมลง นำไปฉีดพ่นให้แมลงวันผลไม้กิน โดยใช้ยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิกรัม ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 57% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร พ่นในเวลาเช้าทุก 7 วัน

วิธีการพ่นอาจพ่นเป็นจุดไม่ต้องพ่นคลุมทั้งต้น เช่น ในฝรั่ง จะเดินตามแถวปลูก แล้วพ่นทุกๆ 5 ก้าว ในทรงพุ่มจุดละประมาณ 50 มิลลิลิตร ในช่วงก่อนห่อผล 1 สัปดาห์ ถึงระยะเก็บเกี่ยว แมลงวันผลไม้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่ออกหากินในช่วงเช้าจะมากินเหยื่อพิษที่มีโปรตีนเป็น



แต่ปัจจุบันมีการใช้งานเหยื่อโปรตีนที่ได้ผลดียิ่งกว่าการใช้เป็นเหยื่อพิษคือการทำเป็นกับดักร่วมกับกาวดักแมลง (https://youtu.be/hHC5916Wyj0 ) โดยที่เราไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงอีกต่อไปแถมได้ผลดีมากๆอีกด้วย ( https://shopee.co.th/sansfly?smtt=0.0.7 ) เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนและใช้งานง่ายกว่าเดิม









ขอบคุณข้อมูลจาก www.technologychaobban.com



การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม