วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ด้วงเต่าแตงศัตรูร้ายกาจของพืชตระกูลแตง



         เจ้าวายร้ายสำหรับพืชตระกูลแตงที่พบบ่อยและทำความเสียหายกับแตงกวามากที่สุดก็คือ"ด้วงเต่าแตง"




      แมลงในวงศ์นี้มีลำตัวเป็นมันไม่มีขนหนวดมักยาวกว่าส่วนอกมีสีฉูดฉาดเท้ามี5 ปล้องแต่เห็นได้ชัดเพียง4 ปล้องมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ประมาณ35,000 ชนิดเช่นด้วงหมัดกระโดด(Ruby sagra) ด้วงเต่าทอง(Tortoise beetles) ด้วงเต่าแตงเป็นต้น ด้วงเต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็งสีแดงแสดจะมีสีของลำตัว2 สีคือชนิดสีดำ( Aulacopphola frontalis Baly ) และเต่าแตงชนิดสีแดง(Aulacopphola semilis Oliver.) เคลื่อนไหวช้ามักผสมพันธุ์กันเป็นคู่ๆอยู่บนใบ




    ตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆอยู่ในดินตัวหนอนอาศัยอยู่ในดินกัดกินรากพืชเมื่อเข้าดักแด้จะอยู่ในดินเช่นกันตัวเต็มวัยมีความยาว7-8 มม. มีอายุถึง100 วันหรือมากกว่า
    วงจรชีวิตระยะไข่8-15 วันเพศเมียวางไข่ฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มใกล้โคนต้นแตงระยะตัวอ่อน18-35 วันอาศัยอยู่ใต้ดินกัดกินรากพืชระยะตัวหนอนหลังจากฟักออกจากไข่มีสีเหลืองแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีส้มเป็นอันตรายต่อรากแตงในระยะต้นอ่อนระยะดักแด้4-14 วันเข้าดักแด้ในดินตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งมีทั้งสีแดงและสีน้ำตาล



   แมลงศัตรูพืชด้วงเต่าแตงแดงจัดเป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งซึ่งมักจะทำลายพืชตระกูลแตงตัวเต็มวัยตัวอ่อนจะกัดกินใบและดอกของพืชโดยกัดใบให้เป็นวงก่อนจากนั้นจึงกินส่วนที่อยู่ในวงจนหมดเกิดเป็นรูๆตามใบบางครั้งกัดกินบริเวณโคนต้นทำให้เกิดเป็นแผลสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและนอกจากนี้เมื่อเต่าแตงไปสัมผัสเอาสปอร์ราน้ำค้างเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
พืชอาหารพืชตระกูลแตงเช่นฟักข้าวแตงโมฟักทองบวบฟักแม้วแตงกวาแตงไทยและมะระเป็นต้น


   เคล็ดลับที่สามารถขับไล่แมลงเต่าแตงได้ง่ายๆคือให้ใช้ขี้เถ้าและปูนขาวผสมน้ำหมักทิ้งไว้ 1 คืนเอาน้ำที่ตกตะกอนแล้วมาฉีดไล่หรือการหมั่นลงแปลงในช่วงเช้าจับเอาเต่าแตงบี้ด้วยมือเพื่อลดตัวเต็มวัยก็เป็นวิธีที่นับว่าได้ผลดีเช่นกัน



วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การใช้สารเมทิลยูจีนอลให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงวันทอง








        ด้วยเหตุที่แมลงวันผลไม้มีพืชอาหารหลายชนิด ดังนั้นแมลงวันผลไม้จึงสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณประชากรจากพืชอาศัยชนิดต่าง ๆในแต่ละท้องถิ่นได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ซึ่งมีผลไม้ออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง จะเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ระบาดรุนแรง เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเองและเนื่องจากแมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์โดยอาศัยพืชต่าง ๆ ได้เกือบตลอดปี ทำให้มีแมลงวันผลไม้เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

       

ดังนั้นเกษตรกรจะประสบปัญหาอย่างมากในการป้องกันกำจัด และทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงของเกษตกรไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร แมลงวันผลไม้ทำลายผลผลิตเสียหาย และทำให้เกิดการเน่าเสีย เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ และทำให้คุณภาพตกต่ำขายไม่ได้ราคา






แมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญของประเทศไทยมักจะพบเสมอ ได้แก่

1. แมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel)
มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิด ในเขตภาคกลาง คือ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน สะตอกล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยง พริก ชำมะเลียง มะกอกน้ำ มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม มะเดื่ออุทุมพร มะม่วงป่า ละมุด พิกุล ตะขบฝรั่ง กล้วยป่า น้ำใจไคร่ หูกวาง เล็บเหยี่ยว
มะตูม ฯลฯ


2. แมลงวันฝรั่ง Bactrocera correcta (Bezzi)
มีเขตแพร่กระจายในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และแทบจะไม่พบในภาคใต้ มีพืชอาศัยไม่น้อยกว่า 36 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน สะตอ กล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยม ชำมะเลียง มะกอกน้ำ
มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม พิกุล ตะขบฝรั่ง น้ำใจใคร่ หูกวางหนามหัน (งัวซัง) แจง มะแว้งเครือ ฯลฯ


3. แมลงวันแตง Bactrocera cucuritae (Coquillett)
มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากว่า 28 ชนิด ได้แก่ ชะมดต้นฟัก มะละกอ แตงโม ตำลึง แตงกวา ฟักทอง ตะโกนา กะดอม ขี้กาดง บวบเหลี่ยม บวบกลม มะเขือเทศ มะระขี้นก กะทกรก บวบงู ขี้กาแดง กระดึงช้าง ขี้กาดิน ถั่วฝักยาว พุทราจีน ฯลฯ











การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม