วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

"ฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เพื่อกำจัดแมลงวันแตง” ผลงานวิจัยและพัฒนามูลนิธิโครงการหลวง

       ภารกิจสำคัญของมูลนิธิโครงการหลวงคือ การพัฒนาอาชีพให้แก่ชาวเขาที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นเขตป่าต้นน้ำลำธารสำคัญของประเทศไทย ในการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง นอก จากจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้ว ยังต้องเป็นการเกษตรที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตในไร่นา ดิน น้ำ ต้องปราศ จากโลหะ ,จุลินทรีย์ และสารพิษตกค้าง รวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์พืช และการปรับสภาพดินให้เหมาะสม การป้องกันศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน
     ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการใช้สารอารักขาพืช เป็นผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ และวิชาการด้านการอารักขาพืช ให้แก่เกษตรกรของมูลนิธิโครงการหลวง โดยนักวิชาการอารักขาพืชทำงานวิจัยพัฒนา ด้านงานอารักขาพืช ส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ สารทดแทน และแมลงศัตรู โดยมุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรลง และพยายามส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์และสารทดแทน มาอย่างต่อเนื่องในปี 2559 มูลนิธิโครงการหลวงได้อนุมัติให้ตั้งโรงชีวภัณฑ์และได้ดำเนินการผลิตสารชีวภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และสถานีวิจัยเกษตรหลวงได้มากขึ้น
         ศูนย์อารักขาพืชได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) วิจัยและพัฒนาสารทดแทนสารเคมีชนิดใหม่ ได้แก่ ฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ดึงดูดแมลงวันแตง ซึ่งเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชตระกูลแตง นอกจากนี้ฟีโรโมนชนิดนี้ ยังสามารถดึงดูดแมลงวันทอง และแมลงวันฝรั่งได้ ในแปลงปลูกของเกษตรกรที่มีการนำกับดักฟีโรโมนดังกล่าวไปใช้ พบว่าได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี มีการเข้าทำลายของแมลงวันแตงน้อยกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้กับดักฟีโรโมน ปัจจุบันได้มีการใช้ฟีโรโมนแมลงวันแตงในศูนย์นำร่อง ได้แก่ ศูนย์ฯ วัดจันทร์ แม่แฮ ห้วยโป่ง และ สถานีฯ ปางดะ เป็นต้น
       การเตรียมกับดักฟีโรโมน โดยการนำฟีโรโมนไปไว้ในกับดัก โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วเป็นกับดัก และใช้หลอดที่ใช้สำหรับทำหลอดยาดมมาหยดสารฟีโรโมนลงไป จำนวน 6 หยด (ด้านละ 3 หยด) เป็นหลอดฟีโรโมน ส่วนขวดน้ำพลาสติกนำมาตัดส่วนบน ยาว 4 นิ้ว แล้วนำหลอดฟีโรโมนที่เตรียมไว้ มาแขวนกับลวด จากนั้นนำขวดส่วนบนมาประกอบเข้ากับส่วนล่างของขวด นำไปแขวนรอบแปลงปลูก ระยะห่าง 8 เมตรต่อกับดัก กับดักฟีโรโมน 1 กับดัก สามารถอยู่ได้นาน 5 สัปดาห์
      “โครงการวิจัยและพัฒนาฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เพื่อกำจัดแมลงวันแตง” ได้เปิดตัวในงานโครงการหลวงฯที่ผ่านมา มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกประชาสัมพันธ์ มูลนิธิโครงการหลวง65 หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 
+66 5381 0765-8 ext 102 FAX:+66 5332 4000
ที่มา เชียงใหม่นิวส์

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

วิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลมะละกอเพื่อการส่งออก

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีกำจัดแมลงวันทองในกลุ่ม B. dorsalis species complex ด้วยความร้อนที่ได้มาตรฐานของวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืชในผลมะละกอก่อนการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น 

         ศึกษาด้านความเสียหายของมะละกอจากวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำเปรียบเทียบกับวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์พบว่า วิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์จะใช้เวลาในการอบมะละกอนานกว่าวิธีการอบไอน้ำ การสูญเสียน้ำหนัก และปริมาณน้ำตาล ทั้ง 2 วิธีการไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับมะละกอที่ไม่ผ่านความร้อน เมื่อพิจารณาจากความเสียหายที่ผิวภายนอก และภายในผลมะละกอที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง


            พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่ผลจากสีเขียวเป็นสีเหลืองใกล้เคียงกับมะละกอที่ไม่ผ่านความร้อน ในขณะที่มะละกอที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง จะแสดงความเสียหายภายนอกที่ผิว โดยเกิดรอยบุ๋ม และภายในผลเกิดอาการช้ำ และนิ่ม เนื่องจากความร้อนอย่างเด่นชัด 
            เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเบื้องต้น วิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์มีความเหมาะสมทีจะใช้เป็นวิธีกำจัดแมลงวันทองในผลมะละกอมากกว่าวิธีการอบไอน้ำ ศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันทองในระยะไข่ และหนอนวัยต่าง ๆ ในผลมะละกอด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ 

         
             
                       เพื่อกำหนดระยะการเจริญเติบโตที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุด พบว่าหนอนวัยที่ 1 เป็นวัยที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุด โดยที่หนอนวัยที่ 1 ตายทั้งหมดที่อุณหภูมิ 46.5 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ในมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ จากผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พิจารณาเพื่อศึกษาการประเมินประสิทธิภาพการกำจัดแมลงด้วยความร้อนต่อไป
ที่มา มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชัยณรัตน์ สนศิริ, สลักจิต พานคำ, รัชฎา อินทรกำแหง และอุดร อุณหวุฒิกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562

วิธีเปิดร้านขายยาพืช

         เรามีขั้นตอนอย่างไรบ้างถ้าอยากจะขายยาพืชบ้าง วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปลองทำดูกันนะครับ เริ่มต้นจากการขออบรมก่อนเป็นอันดับแรก แล้วขั้นตอนต่างๆต่อไปมีอะไรบ้างดูได้เลยครับ

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562

อาชีพเสริม รายได้พิเศษ!!


ใครอยากมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงมดแดง คลิกดูรายละเอียดได้เลยครับ

           นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของสวน กล่าวว่า ตนเลี้ยงมดแล้วเก็บไข่มดแดง ขายเสริมรายได้มาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา เสริมรายได้จากการทำนา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ว่างเว้นจากการทำนา แต่ก็ยังสามารถนำไข่มดแดงไปขายสร้างรายได้มาโดยตลอด โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้จากการขายมดแดงไม่ต่ำกว่า 50,000-70,000 บาท และในปีนี้ลูกค้าประจำทั้งในและต่างจังหวัดได้โทรมาสั่งจองกันไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัม โดยถ้าไข่มดแดงขนาดใหญ่จะมีราคากิโลกรัมละ 400 บาท ไข่มดแดงขนาดเล็ก อยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท แต่เนื่องด้วยสภาวะภัยแล้งในปีนี้ไข่มดแดงออกล่าช้านิดหนึ่ง แต่ก็ยังมีขนาดใหญ่เหมือนเดิม ซึ่งคาดในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมไข่มดแดงจะโตเต็มที่ สามารถเก็บขายได้อีกระยะหนึ่ง

การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม