วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การทำกับดักแมลงวันทองในรูปแบบต่างๆ

กับดักแมลงวันทอง



   ประเทศไทยรู้จักการใช้กับดักเพื่อล่อแมลงวันทองมานานแล้ว แต่ทุกคนยังไม่เข้าใจว่าการทำกับดักเค้าทำไปทำไม นักวิชาการทำกับดักชนิดใช้สารล่อเมทิลยูจีนอลเพื่อดูการระบาดของแมลงวันทอง แต่เกษตรกรเห็นว่ามีแมลงวันทองเข้ากับดักเลยคิดว่าเป็นวิธีที่ได้ผล แต่มันล่อได้เพียงตัวผู้และได้เฉพาะแมลงวันทองที่เจาะผลไม้เท่านั้น
    และเมื่อมีการพบว่ากระเพราก็สามารถล่อแมลงวันทองตัวผู้ได้ ก็มีคนนำมาใส่ขวดพลาสติกเพื่อล่อแมลงวันทองเข้าขวดกับดัก แต่มันไม่สามารถกำจัดแมลงวันทองได้จริงจังหรอกครับ แค่มีแมลงวันทองตัวผู้เข้าขวดไม่ได้หมายความว่าจะจัดการปัญหาได้

    นี่คือรูปแบบขวดกับดักที่ใช้กระเพราในการล่อแมลงวันทอง ทำง่ายครับแต่ว่าได้แต่ตัวผู้ของแมลงวันผลไม้ชนิด bactrocera dorsalis กับ bactrocera correctra เป็นส่วนใหญ่ ส่วนพันธุ์อื่นๆล่อไม่ได้เลยครับ
    จนมีการนำเหยื่อโปรตีน (แซนซไฟล) มาใช้ในการล่อแมลงวันทองเพราะว่าสามารถล่อแมลงวันผลไม้ได้ทั้งสองเพศและทุกสายพันธุ์จึงมีการใช้ในรูปแบบกับดักตามต่างประเทศกันบ้าง




    แต่นักวิชาการก็ยังนิยมใช้กับดักแบบเดิมกันอยู่ โดยใช้ร่วมกับสารเมทิลยูจีนอลเพื่อดูการระบาดของแมลงวันทองแต่มันยังไม่สามารถบอกการระบาดของแมลงวันผลไม้สายพันธุ์อื่นอย่าง เช่น แมลงวันพริก หรือ แมลงวันแตง ได้นั่นเอง






    แต่ปี พศ.2561 กรมวิชาการเกษตรได้ทดลองการทำกับดักแมลงวันผลไม้เพื่อให้ใช้ร่วมกับเหยื่อโปรตีน (แซนซไฟล) ให้ได้ผลดีที่สุด จึงมีการทดลองใช้ในการกำจัดแมลงวันพริก ( bactrocera latifron) เพราะแมลงวันพริกไม่สามารถใช้สารเมทิลยูจีนอลล่อได้ เพราะฉนั้นจึงต้องหารูปแบบกับดักที่ใช้กับเหยื่อโปรตีน (แซนซไฟล) นั้นเอง ผลปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี สามารถดักแมลงวันพริกได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลองดูการทำกับดักแมลงวันทองพริกและผลการทดลองได้ที่คลิปด้านล่างครับ ซื้อเหยื่อโปรตีนคลิก









   และเพื่อให้เกษตรกรได้เห็นภาพชัดๆว่าเหยื่อโปรตีน (แซนซไฟล) สามารถล่อแมลงวันทองได้ทั้งสองเพศจริงๆผมจึงได้ทำการทดลองการใช้กับดักร่วมกับเหยื่อโปรตีนให้ดู เพราะการกำจัดแมลงวันทองให้ได้ผลเราจำเป็นต้องกำจัดทั้งสองเพศ หากเรากำจัดแต่เฉพาะตัวผู้จะไม่สามารถแก้ปัญหาแมลงวันทองได้เลย









วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มาทำความรู้จักแมลงวันแตงกันเถอะ



     นี่คือแมลงวันผลไม้อีกชนิกหนึ่งที่เกษตรกรมักจะไม่เข้าใจว่ามันคือตัวการสำคัญในการทำลายพืชตระกูลฟัก เช่น ฟัก แฟง แตงโม มะระ บวบ ถั่วฟักยาว เค้าคือแมลงวันแตง เหมือนแมลงวันพริกที่คนปลูกพริกก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักมันเลยนั่นเอง








Bactrocera (Zeugodacus) cucurbitae (Coquillett)
Common name : Melon fly
ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ
อก : ส่วน postsutural vittae มีลัษณะเป็นแถบสีเหลืองสามแถบ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของแมลงวันแตง โดยแถบกลางจะมีลัษณะแคบและยาว
ปีก : cell bc และ c ใส costal band ยาวไปถึงเส้น R4+5 และยืดออกเป็นจุดที่ปลายปีกซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการใช้จำแนก





พืชอาหาร : 26 ชนิดในพืชตระกูลแตง
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ : เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ
สารล่อ : Cue lure หรือ เหยื่อโปรตีน (แซนซ ไฟล)


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การตรวจสอบแมลงวันทองในแปลงปลูก


      
      หลักการแก้ไขปัญหาแมลงวันผลไม้ที่ถูกต้อง คือต้องจัดการให้ตรงกับสาเหตุ วันนี้ผมมีวิธีทดสอบเพื่อให้เกษตรกรจะได้รู้ว่าแมลงวันผลไม้สายพันธุ์อะไรกันแน่ที่เข้าทำลายพืชที่เราปลูก เราจะได้ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงแบบมากๆอีกต่อไป ขั้นตอนก็คือเช็ครายชื่อพืชที่เราปลูกก่อน จากนั้นดูว่าเป็นแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ไหนที่เข้าทำลายเราถึงจะไปเลือกสารล่อที่ถูกต้องได้ ส่วนวิธีเช็คแมลงเราต้องใช้เหยื่อโปรตีนในการล่อ เพราะเหยื่อโปรตีนเป็นสารล่อที่เป็นกลางมากที่สุดในโลก (จริงๆนะครับ) เมื่อเราได้ชนิดของแมลงวันผลไม้ที่พบก็นำมาเทียบดูกับข้อมูลที่ผมใส่ไว้คู่กันก็จะรู้ว่าเป็นแมลงวันผลไม้ที่ทำลายพืชเราจริงๆหรือไม่



Bactrocera dorsalis
   พืชที่ถูกทำลาย ชะมดต้น ละมุด มะตูม มะม่วงหิมพานต์ น้อยหน่า ขนุน มะเฟือง มะปราง พริกชี้ฟ้า กระโดน มะละกอ สตาร์แอปเปิล ส้มเขียวหวาน ตำลึง ตะโกพนม มะเกลือ ไครย้อย มะกอกน้ำ หว้า ชมพู่ หว้านา มะเดื่อขน มะเดื่ออุทุมพร ชำมะเลียง ลิ้นจี่ มะม่วงป่า มะมุด มะม่วงแก้ว มะม่วงอกร่อง จิงจ้อเหลือง พิกุล ตะขบน้ำ กล้วยป่า กล้วยน้ำหว้า เงาะ น้ำใจไคร่ สะตอ เชอรี่หวาน เชอรี่เปรี้ยว ฝรั่งหนู ฝรั่งอินเดีย ฝรั่ง กระท้อน ก้างปลาขาว ดับยาง มะกอกฝรั่ง มะกอก หูกวาง พุทรา เล็บเหยี่ยว สารล่อที่ใช้ เมทิลยูจีนอล หรือ เหยื่อโปรตีน






Bactrocera correcta

   พืชที่ถูกทำลาย ละมุด มะม่วงหิมพานต์ น้อยหน่า มะเฟือง มะปราง มะยง งัวชัง หนามหัน กระโดน มะละกอ ตำลึง ยางเหียง หว้า ชมพู่ หว้านา ชำมะเลียง แจง มะม่วงแก้ว ยางเชียร่า พิกุล ตะขบฝรั่ง กล้วย น้ำใจไคร่ หนามเสมา มะยม เชอรี่หวาน เชอรี่เปรี้ยว ฝรั่ง กระท้อน มะแว้งเครือ มะกอกฝรั่ง มะกอก หูกวาง พุทราบอมเปิ้ล พุทราจีน สารล่อที่ใช้ เมทิลยูจีนอล หรือ เหยื่อโปรตีน






Bactrocera cucurbitae


   พืชที่ถูกทำลาย ชะมดต้น ฟัก มะละกอ แตงโม ตำลึง แตงต่างๆ แตงกวา ฟักทอง ตะโกนา กะดอม ขี้กาดง บวบเหลี่ยม บวบกลม มะเขือเทศ มะระขี้นก กะทกรก บวบงู ขี้กาแดง กระดึงช้าง ขี้กาดิน ถั่วฟักยาว พุทราจีน สารล่อที่ใช้ เหยื่อโปรตีน หรือ Cue lure





Bactrocera tau
   พืชที่ถูกทำลาย ฟัก แตงไทย แตงกวา บวบเหลี่ยม บวบกลม มะระขี้นก แสลงใจ ขี้กา ขี้กาแดง ขี้กาดิน ตำลึง สารล่อที่ใช้ เหยื่อโปรตีน หรือ  Cue lure





Bactrocera latifrons
พืชที่ถูกทำลาย พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ยี่เข่ง มะเขือเปราะ มะแว้งต้น มะเขือยาว มะแว้งเครือ มะเขือพวง สารล่อที่ใช้  เหยื่อโปรตีน หรือ liti lure



วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ด้วงเต่าแตงศัตรูร้ายกาจของพืชตระกูลแตง



         เจ้าวายร้ายสำหรับพืชตระกูลแตงที่พบบ่อยและทำความเสียหายกับแตงกวามากที่สุดก็คือ"ด้วงเต่าแตง"




      แมลงในวงศ์นี้มีลำตัวเป็นมันไม่มีขนหนวดมักยาวกว่าส่วนอกมีสีฉูดฉาดเท้ามี5 ปล้องแต่เห็นได้ชัดเพียง4 ปล้องมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ประมาณ35,000 ชนิดเช่นด้วงหมัดกระโดด(Ruby sagra) ด้วงเต่าทอง(Tortoise beetles) ด้วงเต่าแตงเป็นต้น ด้วงเต่าแตงเป็นแมลงปีกแข็งสีแดงแสดจะมีสีของลำตัว2 สีคือชนิดสีดำ( Aulacopphola frontalis Baly ) และเต่าแตงชนิดสีแดง(Aulacopphola semilis Oliver.) เคลื่อนไหวช้ามักผสมพันธุ์กันเป็นคู่ๆอยู่บนใบ




    ตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆอยู่ในดินตัวหนอนอาศัยอยู่ในดินกัดกินรากพืชเมื่อเข้าดักแด้จะอยู่ในดินเช่นกันตัวเต็มวัยมีความยาว7-8 มม. มีอายุถึง100 วันหรือมากกว่า
    วงจรชีวิตระยะไข่8-15 วันเพศเมียวางไข่ฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มใกล้โคนต้นแตงระยะตัวอ่อน18-35 วันอาศัยอยู่ใต้ดินกัดกินรากพืชระยะตัวหนอนหลังจากฟักออกจากไข่มีสีเหลืองแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีส้มเป็นอันตรายต่อรากแตงในระยะต้นอ่อนระยะดักแด้4-14 วันเข้าดักแด้ในดินตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งมีทั้งสีแดงและสีน้ำตาล



   แมลงศัตรูพืชด้วงเต่าแตงแดงจัดเป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งซึ่งมักจะทำลายพืชตระกูลแตงตัวเต็มวัยตัวอ่อนจะกัดกินใบและดอกของพืชโดยกัดใบให้เป็นวงก่อนจากนั้นจึงกินส่วนที่อยู่ในวงจนหมดเกิดเป็นรูๆตามใบบางครั้งกัดกินบริเวณโคนต้นทำให้เกิดเป็นแผลสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและนอกจากนี้เมื่อเต่าแตงไปสัมผัสเอาสปอร์ราน้ำค้างเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
พืชอาหารพืชตระกูลแตงเช่นฟักข้าวแตงโมฟักทองบวบฟักแม้วแตงกวาแตงไทยและมะระเป็นต้น


   เคล็ดลับที่สามารถขับไล่แมลงเต่าแตงได้ง่ายๆคือให้ใช้ขี้เถ้าและปูนขาวผสมน้ำหมักทิ้งไว้ 1 คืนเอาน้ำที่ตกตะกอนแล้วมาฉีดไล่หรือการหมั่นลงแปลงในช่วงเช้าจับเอาเต่าแตงบี้ด้วยมือเพื่อลดตัวเต็มวัยก็เป็นวิธีที่นับว่าได้ผลดีเช่นกัน



วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การใช้สารเมทิลยูจีนอลให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงวันทอง








        ด้วยเหตุที่แมลงวันผลไม้มีพืชอาหารหลายชนิด ดังนั้นแมลงวันผลไม้จึงสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณประชากรจากพืชอาศัยชนิดต่าง ๆในแต่ละท้องถิ่นได้เกือบตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ซึ่งมีผลไม้ออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง จะเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ระบาดรุนแรง เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเองและเนื่องจากแมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์โดยอาศัยพืชต่าง ๆ ได้เกือบตลอดปี ทำให้มีแมลงวันผลไม้เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

       

ดังนั้นเกษตรกรจะประสบปัญหาอย่างมากในการป้องกันกำจัด และทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงของเกษตกรไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร แมลงวันผลไม้ทำลายผลผลิตเสียหาย และทำให้เกิดการเน่าเสีย เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ และทำให้คุณภาพตกต่ำขายไม่ได้ราคา






แมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญของประเทศไทยมักจะพบเสมอ ได้แก่

1. แมลงวันทอง Bactrocera dorsalis (Hendel)
มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิด ในเขตภาคกลาง คือ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน สะตอกล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยง พริก ชำมะเลียง มะกอกน้ำ มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม มะเดื่ออุทุมพร มะม่วงป่า ละมุด พิกุล ตะขบฝรั่ง กล้วยป่า น้ำใจไคร่ หูกวาง เล็บเหยี่ยว
มะตูม ฯลฯ


2. แมลงวันฝรั่ง Bactrocera correcta (Bezzi)
มีเขตแพร่กระจายในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และแทบจะไม่พบในภาคใต้ มีพืชอาศัยไม่น้อยกว่า 36 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง ชมพู่ ละมุด พุทรา น้อยหน่า ขนุน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน สะตอ กล้วยน้ำว้า มะกอกฝรั่ง มะเฟือง มะปราง มะละกอ มะยม ชำมะเลียง มะกอกน้ำ
มะม่วงหิมพานต์ เชอรี่หวาน กระโดน สตาร์แอปเปิ้ล หว้า มะเดื่อหอม พิกุล ตะขบฝรั่ง น้ำใจใคร่ หูกวางหนามหัน (งัวซัง) แจง มะแว้งเครือ ฯลฯ


3. แมลงวันแตง Bactrocera cucuritae (Coquillett)
มีเขตแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากว่า 28 ชนิด ได้แก่ ชะมดต้นฟัก มะละกอ แตงโม ตำลึง แตงกวา ฟักทอง ตะโกนา กะดอม ขี้กาดง บวบเหลี่ยม บวบกลม มะเขือเทศ มะระขี้นก กะทกรก บวบงู ขี้กาแดง กระดึงช้าง ขี้กาดิน ถั่วฝักยาว พุทราจีน ฯลฯ











วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เคล็ดลับในการกำจัดแมลงวันทองในมะม่วง

     มะม่วงสวนไหนหากไม่ได้มีการดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะแมลงวันทองผลผลิตย่อมจะเสียหายและเกิดการระบาดแมลงวันผลไม้อย่างรุนแรง
     แมลงวันทอง เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ทำลายผลไม้ให้เสียคุณภาพและทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง และจากการทำลายของแมลงวันผลไม้นี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่อการส่งออกผลไม้สดของไทย โดยหลายๆประเทศจะมีการตั้งเงื่อนไขในการกีดกันผลไม้สดของไทย เช่นประเทศญี่ปุ่นจะยอมให้มีการนำเข้าผลไม้สดบางชนิดเท่านั้นโดยเฉพาะมะม่วงสดจากไทยจะต้องผ่านการอบไอน้ำ เพื่อทำลายไข่แมลงวันผลไม้ที่อยู่ในผลมะม่วง


     เราลองมาทำความเข้าใจกับแมลงวันทองกันดูนะครับ แมลงวันทอง หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งคือ แมลงวันผลไม้จัดอยู่ใน Order Diptera ซึ่งแมลงอยู่ใน Order นี้มีอยู่ประมาณ ๔,ooo ชนิด แต่พบว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสถานที่และชนิดของแมลงวันทองนั้นๆ
ลักษณะการเข้าทำลายของแมลงวันทอง ส่วนใหญ่จะพบการทำลายที่ผล แต่บางชนิดก็ทำลายที่ดอกต้นและรากด้วย ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายโดยเฉพาะพืชบางชนิด ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดแล้ว จะเกิดความเสียหายถึง ๑oo เปอร์เซ็นต์ และจากผลการทำลายของแมลงวัน ผลไม้นี้ จะทำให้บางประเทศมีการกีดกันการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทย
แมลงวันทองที่พบในประเทศไทยก็มีหลายชนิดแต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแมลงวันผลไม้ที่มีความสำคัญและพบทุกภาคของประเทศไทยคือ แมลงวันทองชนิด Bactrocera dorsalis มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด


 ซึ่งมีพืชอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะเป็นไม้ผลทางเศรษฐกิจเช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ น้อยหน่า ละมุด พุทรา กระท้อน ฯลฯ ลักษณะการเข้าทำลาย หนอนแมลงวันทองจะเป็นปัญหากับมะม่วงที่ใช้รับประทานสุกตัวหนอนจะชอนไชเจาะอยู่ภายในเนื้อผลทำให้ผลเน่าและร่วง หล่นก่อนเก็บ แมลงวันทองจะระบาดมากในช่วงที่ผลไม้สุกเพราะนอกจากมะม่วงแล้วยังมี พืชอาหารอีกหลายชนิดจึงเป็นโอกาสที่ทำให้แมลงแพร่ขยายพันธุ์ได้มาก


      แต่สิ่งที่ควรทำที่สุดคือต้องกำจัดทั้งสองเพศ ไม่เช่นนั้นเราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั่นเอง
วิธีการในการป้องกันและกำจัดแมลงวันทองนั้น จะสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยเกษตรกรเจ้าของสวนอาจจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของชนิดพืชและสภาพพื้นที่นั้นๆ ซึ่งวิธีการต่างๆได้แก่
1. การใช้เหยื่อพิษคือการใช้เหยื่อโปรตีน (แซนซไฟล) ผสมกับยาฆ่าแมลงฉีดพ่นเป็นวิธีที่ได้ผลและใช้ยาฆ่าแมลงน้อยที่สุด 
2. การห่อผล 
3. การตัดแต่งกิ่งและเก็บผลที่ ถูกทำลาย 
4. การใช้สารล่อ ก็คือการใช้กับดักเพื่อล่อแมลงวันเพศผู้เพื่อลดอัตราการขยายพันธุ์โดยใช้สารล่อเมทธิลยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลง อัตรา ๒:๑ โดยปริมาตร 
5. การใช้วิธีทำให้แมลงเป็นหมัน 
6. การใช้ศัตรูธรรมชาติเป็นตัว ควบคุม
7. การห่อผล เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันทองไปวางไข่ 
8. เก็บผลที่ถูกแมลงวันทองเข้าทำลายฝังหรือเผาจะช่วยลดปริมาณแมลงลงได้ 

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

"ฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เพื่อกำจัดแมลงวันแตง” ผลงานวิจัยและพัฒนามูลนิธิโครงการหลวง

       ภารกิจสำคัญของมูลนิธิโครงการหลวงคือ การพัฒนาอาชีพให้แก่ชาวเขาที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นเขตป่าต้นน้ำลำธารสำคัญของประเทศไทย ในการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง นอก จากจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้ว ยังต้องเป็นการเกษตรที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตในไร่นา ดิน น้ำ ต้องปราศ จากโลหะ ,จุลินทรีย์ และสารพิษตกค้าง รวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์พืช และการปรับสภาพดินให้เหมาะสม การป้องกันศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน
     ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการใช้สารอารักขาพืช เป็นผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ และวิชาการด้านการอารักขาพืช ให้แก่เกษตรกรของมูลนิธิโครงการหลวง โดยนักวิชาการอารักขาพืชทำงานวิจัยพัฒนา ด้านงานอารักขาพืช ส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ สารทดแทน และแมลงศัตรู โดยมุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรลง และพยายามส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์และสารทดแทน มาอย่างต่อเนื่องในปี 2559 มูลนิธิโครงการหลวงได้อนุมัติให้ตั้งโรงชีวภัณฑ์และได้ดำเนินการผลิตสารชีวภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และสถานีวิจัยเกษตรหลวงได้มากขึ้น
         ศูนย์อารักขาพืชได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) วิจัยและพัฒนาสารทดแทนสารเคมีชนิดใหม่ ได้แก่ ฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ดึงดูดแมลงวันแตง ซึ่งเป็นแมลงที่เข้าทำลายพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชตระกูลแตง นอกจากนี้ฟีโรโมนชนิดนี้ ยังสามารถดึงดูดแมลงวันทอง และแมลงวันฝรั่งได้ ในแปลงปลูกของเกษตรกรที่มีการนำกับดักฟีโรโมนดังกล่าวไปใช้ พบว่าได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี มีการเข้าทำลายของแมลงวันแตงน้อยกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้กับดักฟีโรโมน ปัจจุบันได้มีการใช้ฟีโรโมนแมลงวันแตงในศูนย์นำร่อง ได้แก่ ศูนย์ฯ วัดจันทร์ แม่แฮ ห้วยโป่ง และ สถานีฯ ปางดะ เป็นต้น
       การเตรียมกับดักฟีโรโมน โดยการนำฟีโรโมนไปไว้ในกับดัก โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วเป็นกับดัก และใช้หลอดที่ใช้สำหรับทำหลอดยาดมมาหยดสารฟีโรโมนลงไป จำนวน 6 หยด (ด้านละ 3 หยด) เป็นหลอดฟีโรโมน ส่วนขวดน้ำพลาสติกนำมาตัดส่วนบน ยาว 4 นิ้ว แล้วนำหลอดฟีโรโมนที่เตรียมไว้ มาแขวนกับลวด จากนั้นนำขวดส่วนบนมาประกอบเข้ากับส่วนล่างของขวด นำไปแขวนรอบแปลงปลูก ระยะห่าง 8 เมตรต่อกับดัก กับดักฟีโรโมน 1 กับดัก สามารถอยู่ได้นาน 5 สัปดาห์
      “โครงการวิจัยและพัฒนาฟีโรโมนดึงดูดแมลงวันแตง เพื่อกำจัดแมลงวันแตง” ได้เปิดตัวในงานโครงการหลวงฯที่ผ่านมา มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกประชาสัมพันธ์ มูลนิธิโครงการหลวง65 หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 
+66 5381 0765-8 ext 102 FAX:+66 5332 4000
ที่มา เชียงใหม่นิวส์

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

วิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลมะละกอเพื่อการส่งออก

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีกำจัดแมลงวันทองในกลุ่ม B. dorsalis species complex ด้วยความร้อนที่ได้มาตรฐานของวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืชในผลมะละกอก่อนการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น 

         ศึกษาด้านความเสียหายของมะละกอจากวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำเปรียบเทียบกับวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์พบว่า วิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์จะใช้เวลาในการอบมะละกอนานกว่าวิธีการอบไอน้ำ การสูญเสียน้ำหนัก และปริมาณน้ำตาล ทั้ง 2 วิธีการไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับมะละกอที่ไม่ผ่านความร้อน เมื่อพิจารณาจากความเสียหายที่ผิวภายนอก และภายในผลมะละกอที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง


            พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่ผลจากสีเขียวเป็นสีเหลืองใกล้เคียงกับมะละกอที่ไม่ผ่านความร้อน ในขณะที่มะละกอที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง จะแสดงความเสียหายภายนอกที่ผิว โดยเกิดรอยบุ๋ม และภายในผลเกิดอาการช้ำ และนิ่ม เนื่องจากความร้อนอย่างเด่นชัด 
            เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเบื้องต้น วิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์มีความเหมาะสมทีจะใช้เป็นวิธีกำจัดแมลงวันทองในผลมะละกอมากกว่าวิธีการอบไอน้ำ ศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันทองในระยะไข่ และหนอนวัยต่าง ๆ ในผลมะละกอด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ 

         
             
                       เพื่อกำหนดระยะการเจริญเติบโตที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุด พบว่าหนอนวัยที่ 1 เป็นวัยที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุด โดยที่หนอนวัยที่ 1 ตายทั้งหมดที่อุณหภูมิ 46.5 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ในมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ จากผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้พิจารณาเพื่อศึกษาการประเมินประสิทธิภาพการกำจัดแมลงด้วยความร้อนต่อไป
ที่มา มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชัยณรัตน์ สนศิริ, สลักจิต พานคำ, รัชฎา อินทรกำแหง และอุดร อุณหวุฒิกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562

วิธีเปิดร้านขายยาพืช

         เรามีขั้นตอนอย่างไรบ้างถ้าอยากจะขายยาพืชบ้าง วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปลองทำดูกันนะครับ เริ่มต้นจากการขออบรมก่อนเป็นอันดับแรก แล้วขั้นตอนต่างๆต่อไปมีอะไรบ้างดูได้เลยครับ

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562

อาชีพเสริม รายได้พิเศษ!!


ใครอยากมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงมดแดง คลิกดูรายละเอียดได้เลยครับ

           นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของสวน กล่าวว่า ตนเลี้ยงมดแล้วเก็บไข่มดแดง ขายเสริมรายได้มาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา เสริมรายได้จากการทำนา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ว่างเว้นจากการทำนา แต่ก็ยังสามารถนำไข่มดแดงไปขายสร้างรายได้มาโดยตลอด โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้จากการขายมดแดงไม่ต่ำกว่า 50,000-70,000 บาท และในปีนี้ลูกค้าประจำทั้งในและต่างจังหวัดได้โทรมาสั่งจองกันไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัม โดยถ้าไข่มดแดงขนาดใหญ่จะมีราคากิโลกรัมละ 400 บาท ไข่มดแดงขนาดเล็ก อยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท แต่เนื่องด้วยสภาวะภัยแล้งในปีนี้ไข่มดแดงออกล่าช้านิดหนึ่ง แต่ก็ยังมีขนาดใหญ่เหมือนเดิม ซึ่งคาดในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมไข่มดแดงจะโตเต็มที่ สามารถเก็บขายได้อีกระยะหนึ่ง

การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม