วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การทำลำไยนอกฤดูให้มีคุณภาพ




           การผลิตลำไยนอกฤดูเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาผลผลิตกระจุกตัวและราคาตกต่ำในช่วงเดือนสิงหาคม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ การเตรียมต้น การชักนำ การออกดอก การดูแลรักษาเพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพและการเก็บเกี่ยว และหลักปฏิบัติการเก็บเกี่ยว แต่ละขั้นตอนล้วนมีความสำคัญและเกษตรกรต้องดูแลอย่างใกล้ชิดดังนี้

1. การเตรียมต้น
        การเตรียมต้นความพร้อมให้ต้นลำไย เป็นการจัดการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแตกใบและกิ่งที่สมบูรณ์ให้พร้อม สำหรับการออกดอก และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การดำเนินงานขั้นตอนนี้จะต้องปฏิบัติทันทีภายหลังเก็บเกี่ยว ดังนี้

🌟  สนใจวิธีกำจัดแมลงวันทองคลิกที่นี่  🌟


1.1 ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งโดยเร็วหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้เกิดการแตกกิ่งใหม่ที่สมบูรณ์ ตัดกิ่งกระโดงตรงกลางลำต้นออก ยังช่วยชะลอความสูงของต้น ตัดกิ่งออกประมาณ 60%
1.2 การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ควบคู่กับปุ๋ยเคมี อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับขนาดพุ่ม สูตรปุ๋ยเสมอ 15-15-15
1.3 การป้องกันกำจัดแมลง เพื่อรักษายอดใหม่ให้สมบูรณ์พร้อมที่จะผลิตดอกออกผล ในฤดูต่อไป ควรมีการป้องกันโรคและแมลงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแตกใบอ่อนต้นที่ชักนำการออกดอกควรแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2 ชุด ความสมบูรณ์ของใบ มีสีเขียวเข้ม ช่วงนี้ควรมีการสำรวจการระบาดของโรคและแมลงในแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกำจัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การชักนำการออกดอก
2.1 ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืช ใบแห้ง และวัสดุคลุมดินออกจากบริเวณทรงพุ่ม หากดินแห้งเกินไปควรรดน้ำเล็กน้อยในบริเวณทรงพุ่มก่อนราดสาร เพื่อให้การดูดซึมสารโพแทสเซียมคลอเรทดีขึ้น
2.2 การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ ที่มีความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรท ไม่ต่ำกว่า 95 %
2.3 การราดสาร นิยมทำ 2 แบบ ผสมน้ำราดและแบบผ่านทางใบจะต้องละลายสารคลอเรทในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงราดและ พ่นทางใบ
3. การดูแลรักษาเพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพ
3.1 การให้น้ำ ปริมาณที่เหมาะสม ตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชเป็นหลัก
3.2 การให้ปุ๋ยเคมี ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตต่อต้น เช่นผลผลิตมากก็ใส่มาก ติดน้อยก็ลดน้อยลง
3.3 การปรับปรุงคุณภาพผลผลิต แนวทางการจัดการที่ได้ผลดี คือ การตัดช่อผลให้เหลือไม่เกิน 50 ผล ต่อช่อ การตัดช่อผลออกมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น
3.4 การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ได้แก่ เพลี้ยไฟ และไรลิ้นถ้าระบาดอย่างรุนแรง ควรพ่นสารฆ่าแมลง ไดเมทไวเวท ในระยะที่ดอกยังไม่บาน เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ควรดูแลตั้งแต่ผลยังเล็กอยู่
ที่มาของข้อมูล นายจรัล ประดับ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ
ที่มาคลิป สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้

เมืองหลวงของแมลงวันทองในประเทศไทย

  แอดมินจะพาไปดูว่าชาวสวนมะม่วงมีวิธีอยู่ร่วมกันกับแมลงวันทองยังไง ในพื้นที่ๆมีแต่พืชอาหารของแมลงวันทองเช่นมะม่วง มันเป็นเหมือนเมืองหลวงของแ...

บทความที่ได้รับความนิยม