แมลงและไรศัตรูที่สำคัญ
หนอนกินใบอ่อน
ลักษณะและการทำลายตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาด 3.0-4.5 เซนติเมตร หนอนมีขนาดประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร สีเขียวแกมเหลือง เหมือนกับสีของใบอ่อนมังคุด กัดกินใบอ่อนในเวลากลางคืน ทำให้เสียพื้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง มังคุดเจริญเติบโตช้า
ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัด พ่นคาร์บาริล 85 % WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
หนอนชอนใบ
ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก 2.2-3.0 มิลลิเมตร หนอนมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร สีนวลปนแดง ทำลายเฉพาะใบอ่อน โดยหนอนชอนเข้าไปอยู่ระหว่างผิวใบ ทำทางเดินและอาศัยเจริญเติบโตอยู่ภายในระหว่างผิวใบทั้ง 2 ด้าน ใบที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นทางเดินของหนอนคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมี 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน โดยใช้คาร์บาริล 85 % WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เพลี้ยไฟ
ลักษณะและการทำลาย เป็นแมลงขนาดเล็ก 0.7-1.0 มิลลิเมตร สีเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล ทำให้ใบแคระแกร็น แห้ง และไหม้ ส่วนผลเจริญเติบโตช้า ผิวผลมีรอยขรุขระเป็นขี้กลาก
ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน ดอก และผลอ่อนในช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด
• พ่นอิมิดาโคลพริด 10 % เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล 5 % เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเพอร์เมทริน/ โฟซาโลน 6.25%/22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20 % อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
• สำรวจเพลี้ยไฟ หลังพ่นครั้งแรก 1 สัปดาห์ หากยังพบปริมาณเพลี้ยไฟเกิน 1 ตัวต่อยอด ต้องพ่นสารเคมีซ้ำอีกครั้ง และควรสลับการใช้สารเคมีชนิดอื่น เพื่อป้องกันแมลงสร้างความต้านทาน
ไรแดง
ลักษณะและการทำลาย มีขนาดเล็กมาก สีน้ำตาลแดง เคลื่อนไหวไปมา มักระบาดควบคู่กับเพลี้ยไฟ ไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด ดอก และผลอ่อน ทำให้ดอก และผลอ่อนแห้ง ร่วงหรือเจริญเติบโตช้า มีผิวกร้าน
ช่วงเวลาระบาด ช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด พ่นด้วยโพรพาร์ไกด์ 30 % ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฮกซีไทอะซอกซ์ 2 % อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดวัชพืช
• วัชพืชฤดูเดียว เช่น หญ้าขจรจบ หญ้าตีนนก เป็นต้น ตัดวัชพืชให้สั้นทุก 2-3 เดือน ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบต่าง ๆ หรือใช้สารกำจัด วัชพืช เช่น พาราควอท 27.6 % เอสแอล อัตรา 75-150 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในพื้นที่ 1 ไร่หลังวัชพืชงอก เมื่อวัชพืชกำลังเจริญเติบโต และมีใบมาก และควรพ่นก่อนวัชพืชออกดอก ขณะพ่นควรมีแดดจัด ลมสงบ ระวังละอองสารสัมผัสใบและต้นมังคุด
• วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด แห้วหมู เป็นต้น
ตัดวัชพืชให้สั้นทุก 1-2 เดือน ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบต่าง ๆ หรือใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเสท 48 % เอสแอล อัตรา 150-200 มิลลิลิตร หรือกลูโฟซิเนตแอมโมเนีย 15 % เอสแอล อัตรา 250-500 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในพื้นที่ 1/4 ไร่ วิธีการพ่นและข้อควรระวัง เช่นเดียวกับการใช้ในวัชพืชฤดูเดียว
ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
➨➨ สนใจวิธีกำจัดแมลงวันทองคลิกที่นี่ ✭✭
หนอนชอนใบ
ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก 2.2-3.0 มิลลิเมตร หนอนมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร สีนวลปนแดง ทำลายเฉพาะใบอ่อน โดยหนอนชอนเข้าไปอยู่ระหว่างผิวใบ ทำทางเดินและอาศัยเจริญเติบโตอยู่ภายในระหว่างผิวใบทั้ง 2 ด้าน ใบที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นทางเดินของหนอนคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัด พ่นสารเคมี 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน โดยใช้คาร์บาริล 85 % WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เพลี้ยไฟ
ลักษณะและการทำลาย เป็นแมลงขนาดเล็ก 0.7-1.0 มิลลิเมตร สีเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล ทำให้ใบแคระแกร็น แห้ง และไหม้ ส่วนผลเจริญเติบโตช้า ผิวผลมีรอยขรุขระเป็นขี้กลาก
ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อน ดอก และผลอ่อนในช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด
• พ่นอิมิดาโคลพริด 10 % เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล 5 % เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเพอร์เมทริน/ โฟซาโลน 6.25%/22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20 % อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
• สำรวจเพลี้ยไฟ หลังพ่นครั้งแรก 1 สัปดาห์ หากยังพบปริมาณเพลี้ยไฟเกิน 1 ตัวต่อยอด ต้องพ่นสารเคมีซ้ำอีกครั้ง และควรสลับการใช้สารเคมีชนิดอื่น เพื่อป้องกันแมลงสร้างความต้านทาน
ไรแดง
ลักษณะและการทำลาย มีขนาดเล็กมาก สีน้ำตาลแดง เคลื่อนไหวไปมา มักระบาดควบคู่กับเพลี้ยไฟ ไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด ดอก และผลอ่อน ทำให้ดอก และผลอ่อนแห้ง ร่วงหรือเจริญเติบโตช้า มีผิวกร้าน
ช่วงเวลาระบาด ช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด พ่นด้วยโพรพาร์ไกด์ 30 % ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฮกซีไทอะซอกซ์ 2 % อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
การป้องกันกำจัดวัชพืช
• วัชพืชฤดูเดียว เช่น หญ้าขจรจบ หญ้าตีนนก เป็นต้น ตัดวัชพืชให้สั้นทุก 2-3 เดือน ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบต่าง ๆ หรือใช้สารกำจัด วัชพืช เช่น พาราควอท 27.6 % เอสแอล อัตรา 75-150 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในพื้นที่ 1 ไร่หลังวัชพืชงอก เมื่อวัชพืชกำลังเจริญเติบโต และมีใบมาก และควรพ่นก่อนวัชพืชออกดอก ขณะพ่นควรมีแดดจัด ลมสงบ ระวังละอองสารสัมผัสใบและต้นมังคุด
• วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด แห้วหมู เป็นต้น
ตัดวัชพืชให้สั้นทุก 1-2 เดือน ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบต่าง ๆ หรือใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเสท 48 % เอสแอล อัตรา 150-200 มิลลิลิตร หรือกลูโฟซิเนตแอมโมเนีย 15 % เอสแอล อัตรา 250-500 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในพื้นที่ 1/4 ไร่ วิธีการพ่นและข้อควรระวัง เช่นเดียวกับการใช้ในวัชพืชฤดูเดียว
ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น