การป้องกันและกําจัด
1. วิธีเขตกรรม เช่น ทําความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บผลพริกที่ร่วงหล่นทําลาย เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันพริก หรือทําลายพืชอาศัยที่อยู่รอบๆ แปลงปลูกพริก2. การใช้น้ํามันปิโตรเลียม ได้แก่ ดีซี ตรอน พลัส 83.9% EC หรือ เอส เค 99 83.9% EC หรือซันสเปรย์
อัลตร้า ฟรายด์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ํา 20 ลิตร
3. การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกําจัด เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเซี่ยม
4. การใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีกําจัดหนอนแมลงวันพริกทําได้ค่อนข้างลําบาก เนื่องจากตัวหนอนอาศัยอยู่ในผลพริก
โอกาสที่สารเคมีจะสัมผัสตัวหนอนโดยตรงและทําให้หนอนตายจึงเป็นไปได้ยาก ทําให้การใช้สารเคมีฉีดพ่นไม่สามารถควบคุมหนอนแมลงวันพริกได้ และยังทําให้สารเคมีตกค้างในผลผลิตอีกด้วย หากจะใช้สารเคมีฉีดพ่นควรใช้ตั้งแต่พืชเริ่มออกดอกเพื่อไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่บนผลพริก สารเคมีที่แนะนํา ได้แก่ มาลาไธออน ไซเปอร์เมทริน ไดเมโทเอตและไดคลอวอส อัตราการใช้ตามคําแนะนําในฉลาก โดยฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 7 วัน และเว้นระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 7 วัน
5. การใช้สารล่อ
ก. การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารเคมีที่ใช้เป็นสารล่อนี้จะสามารถดึงดูดได้เฉพาะแมลงวันผลไม้
ตัวผู้เท่านั้น และการใช้สารล่อนั้นจะต้องคํานึงถึงแมลงที่ต้องการให้เข้ามาในกับดักด้วย เพราะแมลงวันผลไม้จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสารล่อแต่ละชนิด โดยสารล่อที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดแมลงวันพริก Bactrocera latifrons ได้ดีคือ สารลาติ-ลัวร์ (liti-lure) สารเคมีในกลุ่ม α-ionone และ α-ionol ทุกชนิด
ข. การใช้เหยื่อโปรตีน โดยการนําเอายีสต์โปรตีนออโตไลเสท (Protein autolysate) ผสมกับสารเคมีกําจัดแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันพริก โดยใช้ยีสต์โปรตีนออโตไลเสท 800 ซีซี ผสมสารเคมีมาลาไธออน 83% จํานวน 280 ซีซี ผสมน้ํา 20 ลิตร พ่นเป็นจุดๆ เท่านั้น วิธีการนี้ให้ผลที่ดีมาก นอกจากจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงและแรงงานแล้ว ยังเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม แมลงผสมเกสร รวมทั้งตัวห้ํา-ตัวเบียนน้อยลง ที่สําคัญคือสารนี้สามารถดึงดูดได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเข้าทําลายของแมลงวันพริกได้เป็นอย่างดีขอบคุณข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร
สอบถาม 👉 https://line.me/R/ti/p/%40sansfly
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น